top of page

 

“ข้าวเปลือก ... ที่มาของแกลบ”

ข้าวเปลือกมีส่วนสำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ แกลบ และ เนื้อข้าว

 

 

 

 

แกลบ คือ ส่วนภายนอกสุดที่ห่อหุ้มเนื้อข้าว

เนื้อข้าว คือ ส่วนภายในทั้งหมดที่แกลบห่อหุ้มอยู่ ซึ่งประกอบด้วยเยื่อหุ้มเมล็ด จมูกข้าว และ เนื้อ

เมล็ด เมื่อนำข้าวเปลือกมาผ่านกรรมวิธีการสีข้าว กระบวนการนี้ คือ การแยกเปลือกของเมล็ดข้าว

ออกจากเนื้อข้าว โดยการกะเทาะเปลือก ที่เรียกว่า แกลบ ออกไป เนื้อข้าวที่เหลือ ก็เป็น ข้าวกล้อง

เมื่อนำข้าวกล้องมาสีและขัด ก็จะได้ข้าวขาว หรือ เรียกว่า เนื้อเมล็ด หรือ รำข้าว

รำข้าว ซึ่งประกอบด้วย เยื่อหุ้มเมล็ดและจมูกข้าว คือส่วนที่โรงสีจะนำไปขายต่อผู้เลี้ยงสุกร/ไก่

ดังนั้น สิ่งที่สูญหายไประหว่างการขัดสีข้าวเปลือกเป็นข้าวขาว  คือ เยื่อหุ้มเมล็ดและจมูกข้าว

 

 

 

 

 

 

 

แกลบ (อังกฤษ: Rice Husk)

 

 

 

 

 

 

 

แกลบ คือ เปลือกแข็งของเมล็ดข้าวที่ได้จากการสีข้าวเป็นส่วนที่เหลือใช้จากการผลิตข้าวสาร เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปทรงรีเม็ดยาวสีเหลืองอมน้ำตาลหรือเหลืองนวลแล้วแต่ภูมิประเทศที่มีการปลูกข้าว แกลบประกอบด้วยเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส ลิกนิน และเถ้า และมีซิลิกาในเถ้ามาก แกลบไม่ละลายในน้ำ มีความคงตัวทางเคมี ทนทานต่อแรงกระทำ จึงเป็นตัวดูดซับที่ดีในการบำบัดน้ำเสียที่มีโลหะหนัก การกำจัดโลหะหนักด้วยแกลบมีรายงานว่าสามารถใช้ได้กับ แคดเมียม ตะกั่ว สังกะสี ทองแดง โคบอลต์ นิกเกิลและเงิน โดยใช้ได้ทั้งในรูปที่ทำและไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมี สารเคมีที่นิยมใช้ทำปฏิกิริยากับแกลบเพื่อให้ดูดซับโลหะมากขึ้นคือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ โซเดียมคาร์บอเนตและอีพิคลอโรไฮดริน

การใช้ประโยชน์     

นอกจากการนำแกลบข้าวไปใช้เป็นเชื้อเพลิงต่างๆแล้วยังสามารถนำไปผสมกับวัสดุอื่นๆทำเป็นวัสดุก่อสร้างแล้ว แกลบข้าวยังถูกนำไปผลิตเป็นขี้เถ้าแกลบ (Rice Husk Ash) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ส่วนประกอบหลักของขี้เถ้าแกลบ คือ ซิลิกา(SiO2) สามารถนำไปทำให้บริสุทธิ์ด้วยกระบวนการทางเคมี และการเผาที่อุณหภูมิสูง ซิลิกาในขี้เถ้าแกลบมีทั้งที่เป็น ซิลิกาผลึก (Crystalline Silica) ซิลิกาผลึกสามารถแบ่งย่อยเป็นหลายชนิดตามความแตกต่างของรูปร่าง ลักษณะผลึกและความหนาแน่นของซิลิกา รูปร่างของผลึกมีหลายแบบ เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม สี่เหลี่ยมลูกบาศก์และเส้นยาว และซิลิกาอสัณฐาน (Amorphous Silica) ซึ่งเป็นซิลิกาที่มีรูปร่างไม่เป็นผลึก (Non-crystalline Silica) สรรพคุณ ลดกลิ่น จากคอกวัว นำมาทำปุ๋ยได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ด้านการเกษตร

1. ใช้ผสมเพื่อปรับสภาพดิน

2. ใช้ทำปุ๋ยหมัก

3. ใช้กันความชื้นในคอกสัตว์

4. ใช้เป็นส่วนผสมการผลิตซีเมนต์

 

ด้านการก่อสร้าง

1. เป็นส่วนผสมในการทำอิฐ

2. เมื่อเผาเป็นถ่านแล้วเพิ่มสารเคมีบางประเภทใช้เป็นวัสดุถมในงานถนน

3. ด้านพลังงานและอุตสาหกรรม

4. ใช้เป็นเชื้อเพลิง

5. เผาเป็นเถ้าขาว จนมีคุณสมบัติเป็นด่าง ใช้เป็นส่วนผสมของสบู่ ยาสระผม และน้ำยาล้างจาน

6. ใช้ทำแท่งถ่านอัดขี้เถ้าแกลบ เพื่อเป็นเชื้อเพลิง

7. ใช้ดูดซับก๊าซจากกระบวนการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม.

 

    “แกลบ” ทุกคนย่อมรู้จักดี และมองว่าเป็นของเหลือทิ้งทางการเกษตร ซึ่งได้จากกระบวนการสีข้าว ในปีหนึ่งๆมีปริมาณแกลบสูงถึงประมาณ5,878.14พันตัน

จากการสำรวจโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี 2540 ของเหลือทิ้งเหล่านี้บางส่วน ถูกนำไปใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ย วัสดุปูรองนอน ในโรงเรือนเลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ และในยุคที่ประเทศมีความต้องการพลังงานสูงแกลบถูกนำมาเป็นเชื้อเพลิงทดแทนพลังงานจากน้ำมันดิบ จากสถิติการใช้พลังงานในประเทศไทย ในรายงานพลังงานของประเทศไทย ปี 2539 โดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พบว่า ทดแทนพลังงานได้เทียบเท่าน้ำมันดิบ 0.63 ล้านตัน นอกจากนี้ขี้เถ้าที่ได้จากการเผาไหม้ของแกลบยังสามารถส่งออกขายต่างประเทศได้อีกในราคากิโลกรัม

ละ 3-4 บาท ซึ่งนับว่าเป็นผลพลอยได้ นอกเหนือจากการใช้เป็นแหล่งพลังงานทดแทน

 

    จากการศึกษาค้นคว้าทั้งในและต่างประเทศ พบว่าในแกลบและขี้เถ้าแกลบ มีสารประกอบซิลิคาเป็นสารประกอบหลัก อยู่ถึงร้อยละ 95นับว่าเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญอีกแหล่งหนึ่ง ที่นับวันแต่จะมีเพิ่มขึ้นและมีวัฏจักรการผลิตสั้นซิลิคาเป็นสารประกอบอนินทรีย์ประกอบด้วยธาตุซิลิคอน และออกซิเจนมีชื่อเรียกทางเคมีว่าซิลิคอนไดออกไซด์สารประกอบชนิดนี้มีสมบัติเป็นฉนวนไม่นำไฟฟ้าและความร้อนทนต่อการกัดกร่อนจากสารเคมีพบได้ทั่วไปในแหล่งแร่ธรรมชาติทรายจัดเป็นแหล่งซิลิคาสำคัญที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแก้ว เซรามิก และอิฐทนไฟ

 

    นอกจากนี้ ซิลิคามีความสามารถในการดูดซับความชื้น และสารเคมีได้ดี จึงนิยมใช้เป็นสารดูดความชื้น ซึ่งใช้มากในอุตสาหกรรมอาหารและยาใช้เป็นสารช่วยเพิ่มแรงตึงผิวช่วยในการกระจายตัวของยาชนิดที่

เป็นของเหลว ใช้เป็นสารเพิ่มความแข็งแรง ในอุตสาหกรรมการผลิตยางรถยนต์ ใช้เป็นตัวทำให้สารบริสุทธิ์ (refining agent) ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาและตัวตรึง สารช่วยเร่งปฏิกิริยาในอุตสาหกรรมเคมีใช้ผลิตสารซิลิคอนบริสุทธิ์เพื่อผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ได้อีกด้วย จะเห็นได้ว่า ซิลิคามีประโยชน์มากมาย ในเชิงอุตสาหกรรม ดังนั้นเราควรได้มีการศึกษาพัฒนา

กระบวนการผลิตซิลิคาจากแกลบ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในประเทศ มาใช้ประโยชน์ เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ

  • อันตรายที่เกิดจากอุตสาหกรรมพลาสติก

  • อุตสาหกรรมพลาสติก สามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของพนักงาน ซึ่งสาเหตุอาจเกิดได้จากขั้นตอนการผลิตและชนิดของพลาสติกนั้นเอง โดยในขั้นตอนการผลิต อาจเกิดจากปฏิกิริยาของร่างกายกับพอลิเมอร์ หรือ โมโนเมอร์ หรือ สารเติมแต่ง (additive) ที่ใช้ในกระบวนการผลิต ส่วนอันตรายจากชนิดของพลาสติก มักเกิดขึ้นตามวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

  • อันตรายที่พบจากขั้นตอนการผลิต

  • 1. การผลิตเรซิ่น โดยกระบวนการ Polymerization โดยทั่วไป จะทำในระบบปิด คนงานอาจได้รับไอระเหย ฝุ่น ที่มีสารเคมีที่ใช้เป็นตัวกลาง โพลิเมอร์และสารเติมแต่งในระหว่างการเทผสม การทำเป็นเม็ด และ การซ่อมบำรุงเครื่องมือ การใช้สารเคมี เรซิน สารเติมแต่ง ควรระมัดระวัง และ จัดเก็บสารเหล่านี้ให้เหมาะสม

  • 2. การผลิตพลาสติก เป็นกระบวนการที่ใช้อุณหภูมิ และ ความดันสูง ควรมีGuard และ รั้วกั้น เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่ได้รับจากความร้อน การไหม้ และ อันตรายจากการชนกับบริเวณที่มีความร้อน การใช้ความร้อนสูงระหว่างกระบวนการผลิต การล้าง การบำรุงรักษาเครื่องมือ อาจทำให้คนงานได้รับสารที่เกิดจากการสลายตัวของโพลิเมอร์ ซึ่งเป็นอันตราย เมื่อหายใจเข้าไป และ ฝุ่นอาจติดไฟได้ 

  • 3. คนงานอาจได้รับมลพิษจากการสลายตัวของพลาสติก เมื่อใช้ความร้อนสูงเกินไปในระหว่างการทำความสะอาด การบำรุงรักษาเครื่องมือ การเผาพลาสติก จะทำให้สารมลพิษที่เป็นอันตรายต่อสาธารณชน

 

 

 

 

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

© 2023 by Lawyer & Lawyer.Proudly created with Wix.com

FOLLOW US:

  • w-facebook
  • Twitter Clean
bottom of page